วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555


บทที่8
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
     อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
      โมเด็มแบ่งออกเป็น ประเภท คือ
      1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
        2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจาก
 ความหมายของระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ที่ทำการเชื่อมต่อระบบ เข้ากันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารของ (Protocol)  เดียวกัน  จนเกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก  ในรูปแบบต่างๆ อันได้แก่ การแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ  รวมไปถึง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปในลักษณะของมัลติมีเดียควบคู่การแสดงผลข้อมูลเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและศึกษามากยิ่งขึ้น  บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบของบริการต่าง ๆ ตามมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ที่มีการเพิ่มของจำนวนการใช้งานเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน 
 ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
 อินเทอร์เน็ตเริ่มต้นมาจากผลของสงครามทางการเมืองในยุคสงครามเย็น เมื่อ พ.ศ. 2510  โดยมีฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย  ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตย และรัสเซียเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์  ทั้งสองประเทศต่างคิดกลัวในเรื่องของขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่จะเข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ  ซึ่งจะส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันนั้นเกิดความเสียหาย กระทรวงกกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2512 โดยให้ชื่อโครงการว่า ARPANET   ( Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยและเพื่อพัฒนาให้เกิดระบบเครือข่ายข้อมูลแบบกระจายศูนย์   ซึ่งจะทำให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์ในระหว่าง  การติดต่อสื่อสาร โดยระบบเครือข่ายนี้จะแตกต่างจากระบบทั่วไป  ในด้านการสื่อสารนั้นสามารถ    รับส่ง   ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์  หรือ             สายสัญญาณในการส่ง ในแต่ละจุดจะเกิดความเสียหายหรือถูกทำลายไปบางส่วน  ซึ่งในโครงการนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องนั้นจะเชื่อมโยงกันด้วยสายส่งข้อมูลที่แยกออกเป็นหลาย ๆ เส้น เปรียบเสมือนกับการประสานกันของร่างแห และเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่ส่งไปนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่า Packet  แล้ว     ข้อมูลจะถูกทยอยส่งไปให้ปลายทางตามที่กำหนด โดยแต่ละชิ้นส่วนของข้อมูลนั้น อาจจะไปคนละเส้นทางแต่จะไปรวมกันที่ปลายทางตามลำดับที่ถูกต้อง แต่หากเกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการเดินทางของข้อมูล ส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากข้อผิดพลาดทางด้านสัญญาณรบกวน สายส่งสัญญาณเกิดความเสียหาย หรือแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกทำลายระหว่างการส่งข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งสัญญาณกลับมาแจ้งเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้รับรู้ และจัดการส่งข้อมูลเฉพาะ    ส่วนที่ขาดไปให้ใหม่โดยใช้เส้นทางอื่นแทน  ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นไปถึงปลายทางอย่างแน่นอน
 ประโยชน์ของเครือข่าย
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่าย
โดยผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะดึงข้อมูลจากส่วนกลาง หรือข้อมูลจากผู้ใช้คนอื่นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายนั้น ถือว่าเป็นทรัพยากรส่วนกลางที่ผู้ใช้ในเครือข่ายทุกคน สามารถใช้ได้โดยการสั่งงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของ ตัวเอง
ใช้โปรแกรมร่วมกัน
ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถที่จะรันโปรแกรมจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง
ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี
ก่อนที่เครือข่ายจะเป็นที่นิยม องค์กรส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เมนเฟรม หรือมินิคอมพิวเตอร์ 
 ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ
ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์
2.ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ 
3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์  
 ข้อดีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นมีข้อดีดังนี้
1. สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไรท์เตอร์ ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้
4. สามารถแชร์เอกสาร เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่าง ๆ ใบส่งขอ บัญชีต่าง ๆ ใบรายการ สินค้า เป็นต้น
5. สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชท (Chat)
7. การประชุมระยะไกล (Videoconference)
8. การแชร์ไฟล์ต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิโอ เพลง เป็นต้น
9. การแชร์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น
 หลักการทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย